วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา
http://www.amnathos.go.th/row.html

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Network Layer

1) ชั้นการประยุกต์  (application layer) เป็นส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ของเครือข่ายกับผู้ใช้ โดยคอมพิวเตอร์ จะแปลงข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้เข้าสู่ระบบ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล                   

2) ชั้นการนำเสนอ (presentation layer) ซึ่งจะแปลงข้อมูลที่ส่งมาให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมของเครื่องผู้รับเข้าใจ รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูล โดยกำหนดรูปแบบภาษา ชนิด และวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องผู้ส่งให้เครื่องผู้รับเข้าใจ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมุล                  

3) ชั้นส่วนงาน (session layer) ทำหน้าที่สร้างการติดต่อระหว่างเครืองต้นทางและปลายทาง ตลอดจนดูแลการส่งข้อมูล ระหว่างเครื่องทั้งสองให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดขอบเขตการรับ - ส่ง คือกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่งโดยจะเพิ่มเติม รูปแบบการรับ - ส่งข้อมูลว่าเป็นแบบข้อมูลชุดเดียว หรือหลายชุดพร้อม ๆ กัน เช่น โมดูล (module)  ของการนำเสนอผ่านเว็บ                  

4) ชั้นขนส่ง (transport layer) เป็นชั้นของการตรวจสอบและควบคุมการส่งข้อมุลระหว่างเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง ให้ถูกต้อง                  

5) ชั้นเครือข่าย (network layer) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านจุดต่าง ๆ บนเครือข่ายให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนด รวบรวมและแยกแยะข้อมูลเพื่อหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสม                 

6) ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (datalink layer) ทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้บริการส่งข้อมูล กล่าวคือ ส่งข้อมูลผ่านทางสายส่ง โดยมีกระบวนการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลอันเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนที่เกิดในสายส่ง รวมทั้งมีการแก้ไข ความผิดพลาดดังกล่าวด้วย เป็นชั้นที่ควบคุมความถูกต้องระหว่างการส่งข้อมูลระหว่างจุด (node) 2 จุดที่อยู่ติดกันในเครือข่าย                 

7) ชั้นกายภาพ (physical layer) ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปขแงสัญญาณดิจิทัลให้ผ่านตัวกลางแต่ละชนิดได้

อ้างอิงโดย
http://neung.kaengkhoi.ac.th/networdICT/potoca1.html